ทำความเข้าใจใหม่กับ เครดิตบูโรเเละแบล็กลิสต์ เว็บไซต์ คาร์เซอร์วิส บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน จะมาเผยข้อสงสัย ก่อนจะยื่นซื้อรถกัน
กลายเป็นเรื่องที่ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิด โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ดีซะก่อน ที่จะยื่นซื้อรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์มือสอง หรือรถยนต์ป้ายเเดง กับเรื่องแบล็กลิสต์ หรือเครดิตบูโร ซึ่งกลัวกันว่าจะไม่สามารถยื่นกู้ หรือขอสินเชื่อได้ ซึ่งจริงๆ เเล้วสองอย่างนี้ คนละความหมาย เเละไม่ได้มีความเกี่ยวข้อกันแต่อย่างใด

ทำความเข้าใจใหม่กับ เครดิตบูโรเเละแบล็กลิสต์
เครดิตบูโร คืออะไร?
เครดิตบูโร คือ ชื่อของบริษัทข้อมูลเครดิตเเห่งชาติ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินที่อยู่ในเครือ โดยเหล่าสถาบันการเงินเเละเจ้าของข้อมูล สามารถยื่นเรื่องขอดูรายงานได้ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในรายงานจะมีประวัติของบุคคลที่เคยทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเคยกู้ เคยผ่อน หรือกำลังกู้ เเละผ่อนอยู่ จะเป็นประวัติการชำระดี ชำระล่าช้า เพื่อให้สถาบันการเงินได้พิจาณาการอนุมัติสินเชื่อผ่านเครดิตบูโรนี้
แบล็กลิสต์ คืออะไร?
เป็นเรื่องที่หบายๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่า ติดเเบล็กลิสต์กับเครดิตบูโร คืออันเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงเเล้ว อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ว่าเครดิตบูโร จะมีแค่หน้าที่เป็นส่วนกลางในการรวบรวมข้อมูลของบุคคลที่เคยมีประวัติเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ ที่อยู่ในเครือเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุมัติสินเชื่อเเต่อย่างใด

ยกตัวอย่างเช่น หากเราได้ขอเช่าซื้อรถยนต์มือสองกับไฟแนนซ์ A ซึ่งไฟแนนซ์ A ก็จะรับเรื่องเเละนำข้อมูลเราไปค้นหาหรือเรียกดูผ่านเครดิตบูโร หากพบว่าประวัติดี ไม่เคยมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้มาก่อน การขอสินเชื่อก็อาจจะผ่านโดยง่าย แต่หากเกิดขอเรียกดูประวัติเเล้วพบว่าเรามีประวัติผิดนัดชำระหลายครั้ง ทั้งสินเชื่อต่างๆ บัตรเครดิตต่างๆ ไฟแนนซ์ A ก็อาจจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้ เพราะถือว่าเรามีสิทธิ์จะผิดนัดชำระหนี้
หากติดเเบล็กลิสต์ จะขอสินเชื่อในอนาคตได้อย่างไร
ในปัจจุบันเเล้วตามกฎหมาย เครดิตบูโร จะเก็บข้อมูลไว้ได้ไม่เกิน 36 เดือน หรือ 3 ปีเท่ากัน ซึ่งจะมีข้อมูลของลูกหนี้เเทนข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆ ในทุกๆ เดือนที่มีการชำระเข้ามา ดังนั้น หากประวัติเสีย เครดิตบูโรไม่ดี ควรจะเริ่มปรับปรุงการชำระค่างวดให้ตรงตามที่เจ้าหนี้เเจ้งทุกๆ เดือน จนกระทั่งบัญชีกลับมาเขียวปกติ เเละรอครบ 3 ปีเพื่อให้เครดิตบูโรล้างประวัติเดิมออก

ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เกี่ยวกับเครดิตบูโรหรือไม่
การผิดนัดค้างชำระค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าอินเทอร์เน็ตมือถือ หรือ กยศ ไม่ได้ส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรแต่อย่างใด