7 เรื่องที่ต้องรู้ หากผ่อนต่อไม่ไหว ปล่อยรถโดนยึด เว็บไซต์ คาร์เซอร์วิส บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินจะมาเผยข้อสงสัยกัน ว่าจะเจอกับอะไรบ้าง
ทุกวันนี้ การจะมีรถยนต์ไว้ครอบครองสักคัน ไม่ใช่เรื่องยากสักเท่าไหร่ เพราะปัจจุบันตลาดขายรถมีการเเข่งขันที่สูง ทั้งรถยนต์มือสอง รถยนต์ป้ายเเดง ต่างจัดโปรโมชันกันสนั่น ลดเเลก เเจก เเถม ฟรีดาวน์ สารพัด ทำให้หลายๆ คนที่ต้องการซื้อรถยนต์สักคัน เพียงมีอายุงานเกิน 6 เดือนขึ้นไปก็สามารถหาซื้อได้เเล้ว

เเต่การซื้อรถยนต์โดยที่ไม่ได้วางเเผน อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีได้ หากในช่วงไหนที่คุณเกิดปัญหาด้านการเงินขึ้นมา การจะส่งค่างวดให้ตรงทุกเดือนคงจะเป็นไปได้ยาก เเละเมื่อถึงในจุดที่ไม่สามารถผ่อนต่อไหว คนส่วนใหญ่อาจจะคิดเเค่เพียงว่า ในเมื่อผ่อนชำระค่างวดรถต่อไปไม่ไหวก็ปล่อยให้ ไฟแนนซ์มายึดรถคืนให้มันจบๆ ไปสิ
แต่รู้หรือไม่ว่ายังจะเกิดผลเสียตามมาอีกหลายเรื่องในชีวิตอย่างแน่นอน เว็บไซต์ คาร์เซอร์วิส บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินจะมาเผยข้อสงสัยกัน ว่าจะเจอกับอะไรบ้าง หากหยุดส่งค่างวดเพื่อรอให้ไฟแนนซ์มายึดไป
7 เรื่องที่ต้องรู้ไว้เพื่อป้องกัน หากผ่อนต่อไม่ไหว ปล่อยรถโดนยึด
1.ค้างค่าเช่าซื้อ รวม 4 งวด ถึงโดนยึดรถ
ไฟแนนซ์จะเข้ามายึดรถของเรา ต่อเมื่อเราได้มีการค้างชำระค่างวด 3 งวดติดต่อกันขึ้นไป ก่อนยึดรถอีก 1 เดือนรวมเป็น 4 เดือน หรือไฟแนนซ์บางเเห่งอาจจะใช้เวลาช้ากว่าที่กำหนด ในกรณีที่ไฟแนนซ์มายึดก่อนกำหนดจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคอยู่

2.ไฟแนนซ์ต้องเรียกค่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
ไฟแนนซ์บางเเห่งอาจจะเรียกค่าเสียหายที่สูงเกินจริง ซึ่งมีความผิด ดังนั้นผู้เช่าซื้อควรจะดูรายละเอียดเเละค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อป้องกันการเสียทรัพย์ที่เกินความเป็นจริง
3.ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้หากเราไม่ยินยอม
เมื่อมีการบังคับขู่เข็ญ ไล่ผู้เช่าซื้อลงจากรถ หรือกระชา่กกุญเเจไป เพื่อขับออกไป ถือเป็นการทำความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 เเละหากมีอาวุธ หรือมีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งเเต่ 5 คนขึ้นไป จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งผู้เช่าซื้อสามารถเเจ้งความดำเนินคดีได้ทันที
4.หากถูกไฟแนนซ์ยึดรถ จะหมดอำนาจต่อรองทันที
หากถูกไฟเเนนซ์ยึดรถไป ผู้เช่าซื้อจะหมดอำนาจในการต่อรองทันที เพราะไฟแนนซ์จะนำรถไปขายทอดตลอดในราคาที่ต่ำกว่าตลาดทั่วไปมาก ซึ่งมักจะไม่พอโป๊ะหนี้ที่เราค้างชำระอยู่ เเละอาจจะถูกไฟแนนซ์เรียกค่าเสียหายได้ในจำนวนยอดที่สูง

5.หาทนายสู้ได้หากถูกเรียกค่าเสียหายสูงเกินกว่าเหตุ
หาถูกไฟแนนซ์ยึดรถไปเเล้ว จะมีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ สามารถจ้างทนายเพื่อสู้คดีได้ เพราะส่วนใหญ่ค่าเสียหายของไฟแนนซ์อาจจะสูงจนเกินไป แต่ศาลมักพิพากษาให้จ่ายเพียง 30% หรือครึ่งเดียวเท่านั้น ในคดีเเพ่ง
6.หากเเพ้คดี มีแค่เราที่ต้องรับผิดชอบในคดี
เมื่อเเพ้คดี ทางไฟแนนซ์จะมีสิทธิในการยึดทรัพย์สินของเราที่เป็นชื่อเราถือครองอยู่เพื่อชดใช้ค่าเสียหายส่วนต่าง แต่หากไม่มี ไฟแนนซ์จะไม่สามารถยึดทรัพย์สินของญาติพี่น้องได้
7.ไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่?
ไม่ติดคุก เพราะเป็นคดีเเพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา เเละไม่กระทบต่อหน้าที่การงาน เพราะการเป็นหนี้สินถือเป็นเรื่องส่วนตัว หากไฟแนนซ์ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับหน้าที่การงานจนได้รับผลกระทบ สามารถฟ้องร้องได้